5 วิธีเลือกทานอาหารในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น

6 วิธี การรับประทานอาหารในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น

การรับประทานอาหารในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคุญ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นข้อจำกัดในการรับประทานก็มากขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการย่อยอาหาร โรค ฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป โรคประจำตัว การรับประทานอาหารแบบเดิมเหมือนตอนที่ยังอายุไม่มากอาจเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข วันนี้เราเลยเอา วิธีการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุ มาฝากกันค่ะ

1. ต้องรู้ว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นอย่างไร?

แน่นอนว่าอาหารในผู้สูงอาหารในผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ธัญพืช และนม โดยอาจเพิ่มสัดส่วนการรับประทานทีละน้อยเพื่อให้การปรับเปลี่ยนการรับประทานไม่ยากจนเกินไป

อาหารในผู้สูงอายุ ควรเน้นทานผักให้มากขึ้น

2. อาหารในผู้สูงอายุ ต้องมีสารอาหารที่จำเป็น

และควรระวังในเรื่องของการบริโภคน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณที่พอดี รวมไปถึงโซเดียมและ ไขมันอิ่มตัว การปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศหรือสมุนไพร จะช่วยลดปริมาณของโซเดียม น้ำตาล และไขมันอิ่มตัวได้

3. อ่านฉลากที่ใส่สินค้าก่อนซื้อ

เพื่อเช็คปริมาณสารอาหารบางชนิด เพราะอาหารบางประเภทหากรับประทานมากไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อย่างเช่นพวกความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง บางชนิด ได้แก่ โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง

อ่านฉลากฉลากก่อนซื้ออาหารในผู้สูงอายุ

4. รับประทานอาหารตามปริมาณที่แนะนำ

ซึ่งปริมาณการรับประทานอาหารของแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับ ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง และการออกกำลังกายด้วย ซึ่งโดยส่วนมาก ผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะต้องการพลังงานประมาณ 1,600-2,200 แคลอรี่/วัน ในขณะที่ผู้ชายต้องการพลังงานประมาณ 2,000-2,600 แคลอรี่/วัน เป็นต้น

5. อาหารในผู้สูงอายุ ที่ขาดไม่ได้คือน้ำ

เพราะในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำมากขึ้น และมีความรู้สึกระหายน้ำที่ลดลงด้วย เพราะฉะนั้นควรรับประทานน้ำให้เพียงพอต่อวัน และอาจรับประทานอาหารอื่นๆที่ให้ประโยชน์ เช่น ผลไม้ที่ไม่หวาน, น้ำผักที่มีโซเดียมต่ำ, นมขาดมันเนย (หรือไร้ไขมัน) หรือ ซุป ผลไม้และผัก เป็นต้น

Scroll to Top