รู้หรือไม่ โรคในผู้สูงอายุส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

รู้หรือไม่ โรคในผู้สูงอายุส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีปัญหาสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ ตามมาไม่มากก็น้อย ซึ่งผู้สูงอายุบางคนที่โชคดีหน่อยก็จะไม่ค่อยเป็นโรคร้ายแรงอะไรมากนัก แต่ก็มีบางคนที่ต้องพบเจอกับปัญหาสุขภาพหลาย ๆ ด้าน และนอกจากปัญหาทางกายภาพแล้ว การเผชิญกับการเป็นโรคในผู้สูงอายุนั้นก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจ และอาจจะทำให้สุขภาพจิตผู้สูงอายุไม่ดีเท่าที่ควรได้

ผลกระทบของโรคในผู้สูงอายุต่อสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

ปัญหาเรื้อรังด้านสุขภาพในผู้สูงอายุ ดูเผิน ๆ หลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องปกติ คิดว่าไม่สบายก็แค่รักษาไปตามอาการ แต่ลึก ๆ แล้วปัญหาทางด้านสุขภาพ การต้องต่อสู้กับโรคเรื้อรังที่รุมเร้ากลับส่งผลกระทบ และบั่นทอนต่อสุขภาพจิตผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก

ผลกระทบของโรคที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุส่งผลให้พวกเขาไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลาย รู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องคอยกินยาอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังรู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นภาระให้ลูกหลานต้องเสียเวลาพาไปหาหมอ เสียเงินมากมายเพื่อรักษาให้หายจากโรคต่าง ๆ ซึ่งความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้อาจจะทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพจิตที่ร้ายแรง ในหลาย ๆ รายอาจจะมีอาการซึมเศร้าและสามารถนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด

แนวทางการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

ลำพังแค่เพียงต้องรับมือกับการเป็นโรคต่าง ๆ ในช่วงวัยชราก็ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกหดหู่มาก ๆ แล้ว หากคนในครอบครัว ลูกหลานไม่ให้ความใส่ใจดูแลจิตใจของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว ก็อาจจะส่งผลร้ายมากกว่าที่คิดก็เป็นได้ ดังนั้นการศึกษาแนวทางในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุไว้บ้างจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ

  1. พาผู้สูงอายุไปหาหมอเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ที่กำลังเป็นอยู่อย่างต่อเนื่องด้วยความเข้าใจและเต็มใจ เพราะหากเราไปด้วยความจำใจ ความไม่พอใจ ผู้สูงอายุจะรับรู้ได้และจะเกิดความไม่สบายใจที่ตนเองทำให้ลูกหลานเดือดร้อน ส่งผลต่อสภาพจิตใจและความรู้สึกได้
  2. ให้กำลังใจกับผู้สูงอายุให้ต่อสู้กับโรคร้ายที่กำลังรุมเร้าอยู่ ทำให้เขาเห็นถึงความสำคัญของการมีชีวิตอยู่เพื่อเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับลูกหลานต่อไปอีกนาน ๆ เขาจะได้มีกำลังใจในการต่อสู้กับอาการของโรคต่าง ๆ อย่างมีความหวัง
  3. พาผู้สูงอายุไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่เขาต้องการ เพื่อช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และเพิ่มความอยากมีชีวิตเพื่อใช้กับลูกหลานเพื่อจะไปเที่ยวร่วมกันในอีกหลาย ๆ สถานที่ เป็นต้น

การเอาใจใส่ดูแลกันของคนในครอบครัว ให้ความรักความเข้าใจกันจะเป็นเกราะกำบังชั้นดีที่จะช่วยทำให้สุขภาพจิตผู้สูงอายุดีอย่างที่หวังไว้ แม้ว่าเขาจะต้องต่อสู้กับโรคคนแก่ที่รุมเร้า แต่การได้รับความรักความใส่ใจจากลูกหลานจะช่วยให้การต่อสู้นั้นเป็นไปอย่างมีกำลังใจ และเชื่อหรือไม่ว่าจะมากหรือน้อยการมีสุขภาพใจที่ดีมีความสุขจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายได้แน่นอน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top