สุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ไม่ดี ส่งผลเสียต่อคนในครอบครัวได้มากกว่าที่คุณคิด

สุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ไม่ดี ส่งผลเสียต่อคนในครอบครัวได้มากกว่าที่คุณคิด

เราทุกคนเกิดมาล้วนต่างก็ต้องมีอายุที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ วันเดือนปี และแก่ตัวลงในท้ายที่สุดก่อนที่วาระสุดท้ายจะมาถึง ช่วงเวลาในชีวิตอีกช่วงหนึ่งที่สำคัญของใครหลาย ๆ คน ก็คือช่วงวัยชราที่ต้องกลายเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งนอกจากการให้ความสำคัญและใส่ใจกับการดูแลสุขภาพร่างกายไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงแล้วนั้น การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุให้เป็นปกติดีมีความสุขก็เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญไม่แพ้กัน

สุขภาพจิตผู้สูงอายุในครอบครัว เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

ทำไมการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุในครอบครัวจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม นั่นก็เพราะว่าผู้สูงอายุทุกคนในครอบครัวต่างก็เคยเป็นคนในวัยทำงานที่ตรากตรำทุ่มเททำงานหนักมาก่อนเพื่อหาเงินดูแลส่งเสียเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้มีความสุขมาก่อนด้วยกันทั้งสิ้น

ดังนั้นเมื่อถึงวันที่เข้าสู่ช่วงวัยชราจึงสมควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้มีความแข็งแรง อยู่ได้อย่างปกติสุขดี อีกทั้งการที่ผู้สูงอายุในครอบครัวมีสุขภาพจิตที่ดีก็จะส่งผลดีต่ออารมณ์ความรู้สึกของคนในครอบครัวเช่นเดียวกัน เพราะไม่ต้องคอยกังวลและเป็นห่วงว่าผู้สูงอายุจะเกิดความเหงา หรือความว้าเหว่ในการต้องใช้ชีวิตอยู่ในช่วงที่ร่างกายโรยราไม่แข็งแรงดังเช่นเดิม

หากสุขภาพจิตผู้สูงอายุดีก็จะส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์ความรู้สึกและส่งผลต่อความแข็งแรงทางด้านร่างกายด้วยอีกทางหนึ่ง แม้ว่าจะต้องประสบปัญหากับโรคภัยต่าง ๆ ที่เข้ามารุมเร้าด้วยเหตุผลความเสื่อมถอยทางด้านร่างกาย แต่ก็จะมีกำลังใจที่ดีในการต่อสู้และรักษาตัวเองจากโรคภัยต่าง ๆ ได้

ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากละเลยความรู้สึกของผู้สูงอายุในครอบครัว

คำถามก็คือว่าแล้วถ้าหากผู้สูงอายุในครอบครัวไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีเพียงพอไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรือจิตใจ จะสามารถส่งผลเสียอย่างไรได้บ้าง เราไปดูคำตอบกันได้เลย

1.ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวลกลัวถูกทอดทิ้ง โรคซึมเศร้า ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา อย่างการทำร้ายร่างกายตนเอง เป็นต้น

2.ใช้เวลาว่างไปทำเรื่องไม่ดี การปล่อยปละละเลยผู้สูงอายุในบ้านด้วยการไม่ให้ความสำคัญ ไม่ใส่ใจ อาจจะส่งผลให้เกิดความเครียด จนผู้สูงอายุนำเวลาว่างที่มีอยู่มากไปทำเรื่องไม่ดี เช่น เล่นการพนัน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจก็เป็นได้ อาจจะส่งผลเสียต่อเนื่องตามมาได้อย่างการเป็นหนี้หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น

3.ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวแย่ลง ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจจากการถูกละเลยความรู้สึกอาจจะส่งผลให้สุขภาพจิตผู้สูงอายุย่ำแย่จนแสดงออกมาในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม โกรธง่าย มีความฉุนเฉียวและพูดจาด้วยถ้อยคำที่รุนแรงกับลูกหลานและคนในครอบครัว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันยิ่งแย่ลงไปอีก

การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุในครอบครัวถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ทุกคนในครอบครัวควรต้องมีส่วนร่วม และรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวเราสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญหากท่านมีความสุข ทุกคนในครอบครัวก็จะมีความสุขตามไปด้วยนั่นเอง

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top