How to ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุใส่ใจให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง

How to ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุใส่ใจให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง

การรักตัวเองและการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพกายสุขภาพใจที่ดีเป็นเรื่องพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงต้องกระทำกันอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ในหลาย ๆ ครั้งเราเองก็อาจจะลืมเรื่องนี้ไปเสียสนิทใจ เพราะมีเรื่องอื่น ๆ ให้คิดและทำ ในบางครั้งก็ยุ่งเสียจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รู้ตัวอีกทีบางคนก็อาจจะเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุเสียแล้ว

เรื่องใดบ้างที่จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ

ในวัยของการเป็นผู้สูงอายุนี้ เป็นวัยที่นับว่ามีการเปลี่ยนแปลงมากมายไม่ว่าจะเป็นทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางครั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนอาจจะยังรับมือไม่ทัน และยังไม่พร้อมกับการดูแลตัวเองก็เป็นได้

1.การเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพร่างกาย

ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้สูงอายุอาจจะต้องเผชิญกับการเป็นโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย เนื่องจากเซลล์อวัยวะ ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ในร่างกายถูกใช้งานมาแล้วเป็นระยะเวลานาน อาจจะมีโอกาสเสื่อม มีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่ายขึ้น

2.การเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพจิตใจ

เชื่อหรือไม่ว่าไม่มากก็น้อย เราทุกคนมีความรู้สึกนึกคิดที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ อาจจะแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ส่วนหนึ่งเข้าใจสัจธรรมของชีวิต ปล่อยวางได้มากขึ้น กับอีกส่วนที่ยังคงมีความยึดติดกับตนเอง ไม่ปล่อยวางอะไรทั้งนั้นจนทำให้ตนเองไม่มีความสุข นำไปสู่โอกาสการเป็นโรคทางจิตเวชบางชนิดได้

3.การเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในสังคม

วัยผู้สูงอายุเป็นวัยของการเกษียณ ต้องออกจากงานที่ทำมาทั้งชีวิตเพื่อพักผ่อน ทำให้บทบาทหน้าที่ ความมีตัวตน การได้รับการยอมรับในสังคมลดน้อยลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้บางคนก็เต็มใจและมีความพร้อมในการเตรียมรับมือกันมาเป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุบางคนก็อาจจะยังไม่มีความพร้อมหรือยังเตรียมตัวมาไม่ดีเท่าที่ควร

เราจะชักจูงให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของการดูแลตัวเองให้ดีได้อย่างไรบ้าง

การจะชักจูงให้ผู้สูงอายุเห็นถึงความสำคัญของการดูแลตัวเองให้ดีได้นั้น ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยการบังคับใจ แต่จะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ดังนี้

1.ทำให้ผู้สูงอายุเห็นถึงประโยชน์ของการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ เช่น ลดความเสี่ยงในการเป็นโรค ไม่ต้องเสียเวลาไปหาหมอที่โรงพยาบาล โอกาสในการได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัวลูกหลานไปอีกนาน ๆ

2.ชี้ให้ผู้สูงอายุเห็นถึงข้อเสียและปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมา หากไม่มีการดูแลตัวเองที่ดีมากเพียงพอในผู้สูงวัย เช่น โอกาสจะเป็นผู้ป่วยติดเตียง โอกาสเป็นโรคประจำตัวเรื้อรังต้องกินยาตลอดชีวิต เป็นต้น

3.เราควรดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตัวเราเองให้ดีไปพร้อม ๆ กับผู้สูงอายุในครอบครัว เพื่อให้เขารู้ว่ามีเพื่อนที่พร้อมจะทำกิจกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองให้ดีไปพร้อม ๆ กัน

เชื่อว่าด้วยวิธีการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะสามารถช่วยชักจูงให้ผู้สูงอายุในครอบครัวเห็นถึงความสำคัญในการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพกายใจที่ดีเพิ่มมากขึ้น เพราะการดูแลตนเอง ยิ่งเริ่มไว ยิ่งเห็นผลที่แตกต่างชัดเจนกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ยอมดูแลตนเองอย่างแน่นอน

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top