ออกกำลังอย่างไร ให้ห่างหัวใจวายเฉียบพลัน

ออกกำลังอย่างไร ให้ห่างหัวใจวายเฉียบพลัน

บ่อยครั้งที่เราอาจเคยได้ยินข่าวว่ามีคนเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายขณะออกกำลังมาแล้วมากมาย  ทำให้หลายคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกกำลัง ทั้ง ๆ ที่การออกกำลังกายมีประโยชน์และข้อดีมากมาย วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับอาการหัวใจเฉียบพลัน ขณะออกกำลังว่าแท้จริงแล้วเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีการป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าโรคหัวใจวายคืออะไร

ภาวะโรคหัวใจวายเฉียบพลันหรือหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันคืออะไร

คือภาวะความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ ที่ไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ เกิดขึ้นได้ทั้งขณะที่ร่างกายกำลังเคลื่อนไหวอยู่หรือแม้ขณะที่กำลังพักก็สามารถเกิดขึ้นได้

สาเหตุของสภาวะหัวใจจะวายเฉียบพลัน

เกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างฉับพลันทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดจนทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ โดยมักเกิดกับผู้ป่วยเป็นที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่แล้วทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

สาเหตุที่อาจทำให้หัวใจวายเฉียบพลัน ขณะออกกำลังกายเกิดขึ้นได้อย่างไร

1.สภาวะการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป

2.มีภาวะหัวใจผิดปกติแอบแฝงโดยที่ไม่รู้มาก่อนจากการเก็บสถิติในประเทศอเมริกา นั้นพบว่าสาเหตุของการเสียชีวิตจากหัวใจวายพบว่ามีความสัมพันธ์กับอายุโดยพบว่า

2.1 กลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป พบว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแอบแฝงอยู่

2.2 กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี นั้นอาจเกิดได้หลายสาเหตุ ส่วนมากมักมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือบางคนอาจมีลิ้นหัวใจผิดปกติตั้งแต่เกิดแต่ไม่ทราบมาก่อน

3.ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าภายในหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ โดยมีการเต้นผิดจังหวะ อาจเต้นช้าหรือเร็วเกินไปซึ่งทำให้การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายไม่ดีพอ

การป้องกันโรคหัวใจวายเฉียบพลัน

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างเหมาะสมไม่หนักเกินไป ควบคุมความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน

คำแนะนำเพื่อป้องกันหัวใจวายเฉียบพลันขณะออกกำลัง

1.ตรวจเช็กสุขภาพทุกปี เพื่อวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสม

2.วอร์มอัพและคูลดาวน์ก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้ง

3.สังเกตชีพจรทุก ทั้ง ก่อนออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกาย และหลังการออกกำลังกาย โดยวิธีการง่าย ๆ คือการนำตัวเลข 220-อายุ ได้ผลลัพธ์เท่าไร่ x 85% เราจะได้อัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมขณะออกกำลังกายยกตัวอย่างเช่น หากเรามีอายุ 40 ปี ให้นำ 220 – 45 = 175  นำ 175 x 85% = 148.75 หมายความว่าอัตราการเต้นของหัวใจของเราไม่ควรเกิน 148 ครั้งต่อนาที เป็นต้น

4.ออกกำลังอย่างน้อย 30 นาที ขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ควรออกกำลังต่อครั้งนานและหนักจนเกินไป

สัญญาณเตือนสภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

หากพบอาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นขณะออกกำลังกายหรือขณะใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

1.เจ็บหรือแน่นหน้าอก คล้ายโดนบีบรัดหรือกดทับบริเวณอกด้านซ้าย อาจปวดร้าวไปจนถึงบริเวณขากรรไกรและแขนซ้าย โดยมีอาการดังกล่าวนาน 15-30 นาที

2.จุกแน่นแสบบริเวณลิ้นปี่

3.เหงื่อออกมาก หายใจลำบาก หน้ามืด คลื่นไส้

4.อาจมีภาวะหมดสติ

การออกกำลังกายจะเกิดประโยชน์มากกว่าโทษหากทำให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาวะของร่างกาย หมั่นตรวจเช็กสุขภาพและสังเกตร่างกายของตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดีจะอยู่กับเราไปตลอด

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top