วิธีป้องกันภัยออนไลน์ สำหรับผู้สูงอายุ ใช้โซเชียลยังไงให้ปลอดภัย

วิธีป้องกันภัยออนไลน์ สำหรับผู้สูงอายุ

เดี๋ยวนี้มองไปทางไหนก็มีแต่ข่าวปลอม มิจฉาชีพ ที่มาในหลายๆรูปแบบ ไม่ว่าจะทางโซเชียลมีเดีย โทรศัพท์มือถือ หรือจดหมาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักๆของพวกมิจฉาชีพก็คงหนีไม่พ้นผู้สูงอายุ แต่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปหากผู้สูงอายุไม่ยอมที่จะโดนหลอก การดูแลตนเองของผู้สูงอายุและวิธีป้องกันภัยออนไลน์ ถือเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้ และลูกหลานก็ควรมีส่วนในการช่วยเหลือเพื่อให้พ่อแม่ หรือปู่ ย่า ตา ยายของเราไม่ถูกหลอก ถูกโกง

ภัยออนไลน์ ที่ผู้สูงอายุต้องระวังมีอะไรบ้าง

ก่อนที่จะรู้วิธีป้องกันภัยออนไลน์ ผุ้สูงอายุต้องทราบก่อนว่าภัยออนไลน์มีหลายรูปแบบ ยุคสมัยเปลี่ยนมิจฉาชีพเองก็สรรหาสารพัดวิธีการหลอกลวงใหม่ๆเข้ามามากมาย แถมเดี๋ยวนี้ยังมี AI ทำให้การหลอกลวงบางครั้งดูสมจริงมากขึ้น เพราะฉะนั้นผู้สูงอายุจึงต้องระมัดระวังหลายเรื่อง ภัยออนไลน์ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ได้แก่

ผู้สูงอายุกับภัยออนไลน์

โซเชียลมีเดีย

ไม่ว่าจะเป็นไลน์ เฟซบุ๊ค ติ๊กต่อก ยูทูป อินสตาแกรม เชื่อว่าทุกเช้าชาววัยเก๋า จะต้องมีการส่งโพสต์สวัสดี หรือแชร์ข่าว ซึ่งบางครั้งข่าวที่ถูกส่งต่อมาก้เป็นข่าวปลอม หรือข่าวที่บิด้บือนความจริง ทำให้รับสารแบบผิดๆ แถมยิ่งอันตรายหากเป็นข่าวสารเกี่ยวกับอาหารการกิน เช่น กิน…รักษามะเร็งได้ หรือ บางครั้งก็เป็นข่าวปลอม หรือคลิปหลอกลวง เป็นต้น

หลอกขายของออนไลน์

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องระวังทั้งในคนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ เนื่องจากโดนกันเยอะมาก และเกือบทุกแพลตฟอร์ม โดยมิจฉาชีพอาจแสร้งทำเป็นเปิดร้านค้าขึ้นมาหรือสร้างเพจเลียนแบบร้านค้าที่มีอยู่จริง บางครั้งอาจซื้อผู้ติดตามเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ แล้วลงขายของในราคาถูกกว่าร้านอื่นๆเท่าตัว หรือใช้คำโฆษณาหลอกให้ซื้อด้วยข้อเสนอที่นาสนใจ บางครั้งอาจแนบเนียนถึงขั้นมีรีวิวปลอม ข้อเสียจากการซื้อของจากมิจฉาชีพ เช่น ได้ของไม่มีคุณภาพ ของปลอม หรืออาจเสียเงินโดยที่ไม่ได้ของ เพราะฉะนั้นก่อนซื้อของออนไลน์ผู้สูงอายุจึงควรพิจารณาก่อนซื้อ โดยอาจให้ลูกหลานช่วยตรวจเช็คให้อีกครั้งเพื่อความแน่ใจ

ถูกหลอกลวงหรือทำให้รัก แล้วโอนเงิน

ความรักสามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุ ผู้สูงอายุบางคนอยู่คนเดียวนานๆก็เหงา เลยคุยแชทกับคนนั้นคนนี้ เจอคนดีก็ถือว่าโชคดี แต่บางครั้งก็มีพวกมิจฉาชีพแฝงเข้ามาในโซเชี่ยลมีเดียเพื่อมาหลอกซึ่งมีหลายกรณีด้วยกัน เช่น

  • หลอกให้ช่วยโอนเงินให้ อาจมาทำทีว่าลำบาก หรือทำตัวให้น่าสงสาร
  • พูดจาหวานๆ ชื่นชม หรือหว่านล้อมด้วยคำพูดสวยหรู
  • หลอกให้เปิดบัญชี ขอข้อมูลส่วนตัวไปทำธุรกรรม 
  • หลอกว่าจะส่งของมาให้ โดยให้ผู้สุงอายุออกค่าภาษี หรือจ่ายค่าขนส่งให้ก่อน
  • หลอกให้มาลงทุน โดยอาจพูดถึงผลกำไรที่จะได้

อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างที่พบได้บ่อยๆ เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จึงมีอีกสารพัดวิธีที่มิจฉาชีพใช้เพื่อมาหลอกเอาเงิน บางคนโชคดีเสียเงินแค่เล็กน้อย แต่บางรายก็โดนหลอกจนถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัวก็มี

หลอกให้ดาวโหลดแอป

หากได้รับสายจากเบอร์แปลก โปรดพึงระวังไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นเบอรืมิจฉาชีพ เพราะหากเราไม่คิดเช่นนั้นโอกาสที่จะคล้อยตามและโนหลอกนั้นมีสูงมาก มิจฉาชีพอาจโทรมาแล้วแสร้งว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ และอาจหลอกให้ผู้สูงอายุดาวโหลดแอปพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อทำการควบคุมมือถือ แล้วดุดเอาเงินจากแอปพลิเคชั่นธนาคาร หรือแอบดูข้อมูลส่วนบุคคลได้ เพราะฉะนั้นอย่าติดตั้งแอปพลิเคชั่นจากภายนอก Playstore หรือ  App Store เด็ดขาด และเราขอแนะนำให้ติดตั้งแอปพลิเคชั่น Whocall เพื่อเช็คว่าเบอร์นี้โทรมาจากไหน หรือมีเบอร์ไหนที่โทรมาแล้วเป็นมิจฉาชีพก็สามารถเพิ่มเข้าไปเพื่อเตือนให้ผู้ใช้แอปฯท่านอื่นได้ทราบด้วย

อันตรายจากการที่ผู้สูงอายุติดจอ

นอกจากเรื่องของการหลอกลวงออนไลน์แล้ว การที่ผู้สูงอายุติดจอยังมีผลเสียอื่นอีกด้วย เช่น

  • มีผลเสียต่อสุขภาพจิต เพราะเสพข่าว หรือคลิปปลอมที่มีเนื้อหาความรุนแรง หรือน่ากลัว
  • เจอการรังแกทางโซเชียล (Cyberbullying) ไม่ว่าจะด้วยการล้อเลียน หรือการใช้คำพูดที่รุนแรง ซึ่งหากคนสูงวัยที่มีสภาพจิตใจที่ไม่แข็งแรง อาจตกเป็นเหยือของคนเหล่านี้ และพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
  • อันตรายต่อสายตา เนื่องจากแสงสีฟ้า ที่มากับหน้าจออุปกรณ์ดิจิตอล สามารถทำให้เกิดอาการปวดตา แสยบตา รู้สึกเมื่อยล้า เคืองตา น้ำตาไหล สายตาพร่ามัวได้ และอาจรุนแรงถึงขั้นประสาทจอตาเสื่อม
  • หากผู้สุงอายุติดจอมากเกินไป อาจทำให้สมาธิสั้นลงได้ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
  • นอนดึกขึ้น นอนไม่เป็นเวลา หรือนอนไม่พอ
  • การนั่งเล่นโซเชี่ยลมีเดียนานๆ ทำให้ไม่ค่อยได้ขยับตัวอาจเกิดอาการปวดเมื่อยได้ เช่น ปวดคอ นิ้วล็อค

6 วิธีป้องกันภัยออนไลน์ สำหรับผู้สูงอายุ

การดูแลตนเองของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภัยออนไลน์ มีดังนี้

วิธีป้องกันภัยออนไลน์ ตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนโอนเงิน

1. เช็คข้อมูลก่อนโอนเงิน

เรื่องนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะหากปลายทางเป็นมิจฉาชีพ ให้คิว่าโอกาสที่จะได้เงินคืนแทบจะถือว่าเป็นศูนย์ เพราะฉะนั้นก่อนโอนเงิน ยอมเสียเวลาตรวจสอบสักนิด และหากโอนเงินหรือทำธุรกรรมแล้วควรเก็บหลักฐานเอาไว้เสมอ เผื่อกรณีถูกโกงจะได้มีหลักฐานเพื่อหาเบาะแสของผู้โกงได้

2. เช็คให้ดีก่อนแชร์

ก่อนแชร์ข่าวสารให้ผู้อื่นควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า แหล่งข่าวนั้น่าเชื่อถือหรือไม่ ควรพิจารณาดูข้อเท็จจริงก่อนว่าข่านั้น เป็นไปได้หรือไม่ ไม่ควรอ่านแล้วแชร์ในทันที เพราะอาจส่งต่อความเข้าใจผิดๆให้ผู้อื่น เพราะการแชร์ข้อมูลต่อกันในโซเชียลมีเดียสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

3. เช็คข้อมูล หรือปรึกษาก่อนสั่งซื้อของออนไลน์

ก่อนสั่งซื้อของควรเช็คข้อมูลไม่ว่าจะเป็นชื่อสินค้า ขนาด ราคา และเปรียบเทียบกันหลายๆที่เพราะหากของที่ซื้อมีรคาถูกมากจนน่าสงสัย อาจเป็นของปลอม หรือเป็นมิจฉาชีพ ที่มาเปิดร้านเพื่อหลอกเอาเงินได้ หรืออาจปรึกษาคนในครอบครัว เพื่อน หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ การเช็คข้อมูลหรือปรึกษากับผู้อื่นก่อนสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เป็นวิธีที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือความเสี่ยงต่างๆ และช่วยให้ผู้สูงอายุมีประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ที่ปลอดภัยและมั่นใจได้มากยิ่งขึ้น

วิธีป้องกันภัยออนไลน์ด้วยการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม

4. ตั้งรหัสผ่านรัดกุม

การตั้งรหัสผ่านนั้นเป็นวิธีป้องกันภัยออนไลน์ที่มีความสำคัญมาก ไม่ควรตั้งรหัสผ่านบัญชีต่างๆแบบลวกๆเพราะอาจทำให้ถูกเข้าถึงได้ง่าย ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ วันเกิด หรือเลขประจำตัวประชาชน เข้าไปในรหัสผ่าน การตั้งรหัสผ่านที่มีความซับซ้อนและปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวและการทำธุรกรรมออนไลน์

5. ระวังเรื่องการส่งข้อมูลออนไลน์

การระวังในการส่งข้อมูลออนไลน์เป็นวิธีป้องกันภัยออนไลน์ ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวในการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยควรสังเกตเว็บไซต์ที่เข้าเสมอว่ามี HTTPS หรือไม่ หากมีแค่ http ไม่ควรเข้าใช้เพราะอาจเป็นเว็บที่ไม่ปลอดภัย และไม่ควรส่งข้อมูลส่วนตัวให้คนไม่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นเลขบัตรประชาชน รหัส หรือภาพที่มีข้อมูลส่วนตัว และอย่าโหลดแอปพลิเคชั่นนอก play store หรือ app store เด็ดขาด

6. เสพสื่อที่น่าเชื่อถือ

การเสพสื่อที่เชื่อถือได้สำหรับผู้สูงอายุจะช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ ว่าบัญชีที่ติดตามอยู่เป็นบัญชีของแหล่งข่าวๆนั้นๆจริงหรือไม่ เพราะเดี๋ยวนี้ชอบมีการตั้งชื่อบัญชีที่คล้ายๆกัน ในลักษณะเพจก่อกวน หรือล้อเลียน เสียดสี อาจทำให้เกิดความสับสนได้

หากผู้สูงอายุโดนหลอกให้โอนเงิน ต้องทํายังไง?

ผู้สูงอายุโดนหลอกให้โอนเงินต้องทํายังไง?

  • ติดต่อธนาคาร เพื่อแจ้งอายัดบัญชีปลายทาง ธนาคารจะช่วยตรวจสอบว่าบัญชีนั้นเกี่ยวข้องกับการทำผิดกฎหมาย หรือทำการฟอกเงินหรือไม่ แล้วจึงทำการระงับการทำธุรกรรมชั่วคราวทันที
  • เก็บรวบรวมหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นแชท บัญชีธนาคาร หลักฐานการโอน ข้อความหรืออีเมลที่ใช้ในการหลอกลวง เก็บไว้เป็นหลักฐาน
  • ไปแจ้งความที่โรงพัก โดยนำสมุดบัญชีธนาคาร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หลักฐานที่รวบรวมไว้ไปด้วย ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการตรวจสอบใน 7 วัน
  • รอหลังผ่านไป 7 วัน ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีการส่งหมายอายัดมาที่ธนาคาร การอายัดบัญชีจะถูกยกเลิก แต่ถ้าหากตรวจพบการก่ออาชญากรรม ก็จะเข้าสู่กระบวนการต่อไป

หากไม่สะดวกไปที่โรงพักสามามารแจ้งความออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือติดต่อกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โทรสายด่วน 1441

การดูแลตนเองของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหลอกลวงในสังคมออนไลน์เป็นเรื่องที่สำคัญ และการทำตามวิธีป้องกันภัยออนไลน์เหล่านี้ จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้ทันกลโกง เพื่อป้องกันตัวเองและลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุในอนาคตได้มากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้สูงอายุจะติดจอหากลดการใช้สมาร์ทโฟนให้ใช้อย่างพอดีก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และไม่ต้องเหนื่อยไปรักษาในภายหลัง

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top